วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Water Cooled House

Water Cooled House
Reference Thank you: www.arcthai.com
All Photo ©Albert Lim & Drawings courtesy Wallflower Architecture+Design



อากาศร้อนๆแบบนี้ได้อยู่บ้านที่มีบรรยากาศสบายๆ คงช่วยคลายร้อนได้มากทีเดียว ว่าแล้วก็ไปสะดุดตากับว็บเจ้าประจำ www.arcthai.com ของเราที่เอาผลงานจาก Wallflower Architecture + Design สัญชาติ SG มานำเสนอ

"...แนวทางการออกแบบที่เรียบง่าย เป็นแนวสถาปัตยกรรมแนวร้อนที่ดูมีเสน่ห์ มีการวางผังที่แปลกออกไปจากบ้านทั่ว ๆ ไป สำหรับงาน Water Cooled House นี้ก็เช่นเดียวกัน
เริ่มจากที่ตั้งระดับ A+ กันก่อนที่อยู่ห่างจากถนนใหญ่พอสมควร ล้อมรอบด้วยต้นไม้ใหญ่โดยรอบจากที่ดินเพื่อนบ้าน มีลมพัดเย็นพัดผ่านเบา ๆ เจ้าของบ้านก็ต้องการบ้านพักสมัยใหม่ ที่ไม่ต้องเน้นความโดดเด่นที่ตัวสถาปัตยกรรม แต่ควรจะเป็นสถาปัตยกรรมที่ถ่อมตัว ผสานกันเป็นเนื้อเดียวกันกับสภาพแวดล้อม ใช้ประโยชน์จากภูมิอากาศเขตร้อนชื้นได้อย่างเต็มที่

จากนั้นพวกเขาพัฒนาการวางผังที่กลับกันกับการออกแบบบ้านทั่ว ๆ ไป คือนำส่วนห้องนอนมาไว้ที่ชั้นล่าง และนำส่วนที่เป็นห้องรับแขกและห้องอ่านหนังสือไว้ชั้นบน โดยออกแบบเป็นศาลากลางน้ำตั้งอยู่ชั้นบนที่เปิดมุมมอง 360 สู่ภายนอก ด้วยการออกแบบโครงสร้างที่ช่วยให้ใช้ผนังกระจกใส แบบที่ไม่มีโครงสร้างมาบัง การเข้าถึงส่วนห้องรับแขกนี้ก็ต้องผ่านบันไดเวียนที่ตั้งอยู่บริเวณ foyer หน้าบ้านเพิ่อเป็นการไกด์และเชื้อเชิญแขกให้ขึ้นไปส่วนห้องรับแขกต้านบนแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว

ศาลาห้องรับแขกกลางน้ำที่เป็นสระ reflecting pool สีดำ นั้นกลายเป็นส่วนที่สร้าง sense ของความเป็นส่วนตัว และ สันโดษ สงบนิ่ง นอกจากนี้สระน้ำนี้ยังกลายเป็นฉนวนที่ช่วยป้องกันความร้อนที่จะลงมาสู่ห้องนอนด้านล่างได้เป็นอย่างดี

ในส่วนชั้นล่างนั้น มีการกรุ๊ปส่วนห้องนอนสามห้อง ห้องรับประทานอาหารและห้องนั่งเล่น ไว้ด้วยกันและแยกส่วนบริการขนานกันไป โดยคั่นระหว่างกลางด้วยสระน้ำภายในบ้านขนาดเล็ก ๆ เรียกว่า Koi pond เชื่อมต่อสองส่วนด้วยสะพานเป็นระยะ ๆ มีการเจาะช่อง skylight ให้แสงธรรมชาติมาส่องตามแนวทางเดิน นอกจากความสวยงามและประโยชน์ในการแยกพื้นที่ใช้สอยแล้ว Koi pond ก็ยังช่วยให้แนวทางเดินนั้นมีความเย็นแจกจ่ายให้พื้นที่ส่วนต่าง ๆ เมื่อมีลมพัดผ่าน"




เห็นแล้วรู้สึกเย็นตาม concept ขึ้นมาบ้างมั้ย!

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

Future Arch Prize 2009-2010

Reference Thank You| www.futurarc.com

งานประกวดที่เน้น concept Green&Educational Project
ประกาศผลปี 2010 สดๆร้อน
FutuArc Prize 2010: Results
  • Professional

  • First Prize Mr Lau Siong Weng
    Second PrizeMr Wee Liam Choo
    Third Prize Mr Lim Yu Sing
    Ms Sathish Sowmya

    Citation/Merit
    Mr Lim Bernard V.
    Mr Doan Thanh Ha
    Mr Wiransakti Doarock
    Mr Le Vu Cuong
    Ms Tran Hoang Anh
    Ms Antonio Heide
    Mr Orbeta Grant

  • Student

  • First Prize Mr Kung Yick Ho Alvin
    Second PrizeMr Hongsachum Ong-Art
    Third Prize Mr Teoh Ren Jie
    Ms Vanichyangguranont Chompunuch

    Citation/Merit
    Mr Subhie Azan
    Mr Chen Zichao
    Mr Nuanparnworachart Pimarnraz

    จากผู้เข้าแข่งขัน 800 กว่าคน ... มีคนไทยได้รางวัลกะเค้าด้วยนะเนี่ย สำหรับผลงานจะนำเสนอในงาน BCI Asia Awards 2010 เดือน May and June 2010 นี้ และได้ตีพิมพ์ใน Magazine(3Q) FuturArc Green Issue 2010 (to be released in mid June).

    ผลงานประกวดปี 2009
  • First Prize

  • โครงการ "โรงเรียนสีเขียว (Green School)"

    เห็นข่าวประกาศนี้แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจ ได้ออกแบบและยังได้ช่วยสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ขึ้นด้วย ลองดูรายละเอียดกันได้นะครับ

    Reference Thank You| www.asa.or.th

    เปิดรับอาสาสมัครสถาปนิกออกแบบอาคารเรียนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โครงการ "โรงเรียนสีเขียว (Green School)"

    สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) จัดโครงการ โรงเรียนสีเขียว (Green School) เพื่อให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียน,นักศึกษา โดยมุ่งเน้นในด้านการฝึกทักษะฝีมือและประสบการณ์ในการทำงาน โดยเลือก โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ร.ร.ตชด.) เป็นพื้นที่เป้าหมาย เนื่องจากเป็นโรงเรียนในพื้นที่กันดารห่างไกลและยังต้องการความช่วยเหลือ เพื่อที่จะมีโอกาสได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา

    ในการนี้สมาคมสถาปนิกสยามฯ ได้เข้าร่วมโครงการด้วยการจัดหาอาสาสมัครสถาปนิกจัดทำ Master Plan และออกแบบอาคารเรียนเรือนที่พัก และอาคารเด็กเล็กวัยก่อนเรียน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green building) โดยอาคารต้นแบบเน้นแนวคิดการก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เน้นบรรยากาศธรรมชาติทั้งการใช้วัสดุและสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับธรรมชาติ และภูมิประเทศ รวมทั้ง ลักษณะเฉพาะและข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ เน้นแนวทางการประหยัดพลังงานและการใช้สอยพื้นที่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

    โดยสมาคมฯ จะจัดให้มีการอบรมความรู้ทางด้าน Green ให้กับอาสาสมัครสถาปนิกทุกท่านที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีพื้นที่เป้าหมายในปี 2553 ดังนี้

    1. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนายาว อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา
    2. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนาแวง อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
    3. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแขม อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    สถาปนิกที่สนใจเข้าร่วมโครงการ แจ้งความจำนงได้ที่ สมาคมสถาปนิกสยามฯ คุณกัลยาพร โทร. 0-2319-6555 ต่อ 203

    วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

    Lively Library

    Reference Thank you| www.archthai.com
    Livraria de Vila | Isay Weinfeld Arquitecto
    เขียนโดย ธนกร คุ้มรำไพ




    Livraria de Vila เป็นร้านหนังสือในเมืองเซา เปาโล บราซิล สะดุดตาตั้งแต่ทางเช้าที่ทำเป็นชั้นวางหนังสือบานพลิกที่ชั้นล่าง ออกแบบโดยสถาปนิกบราซิล Isay Weinfeld Arquitecto ที่เพิ่งจะนำงานของพวกเขามาลง ArchThai เป็นครั้งแรก
    จริง ๆ แล้วโครงการนี้สร้างเสร็จมาตั้งแต่ปี 2007 แล้ว โครงการเป็นการออกแบบปรับปรุงบ้านพักอาศัยสูงสองชั้นเดิม ที่ตั้งอยู่บนที่ดินหน้าแคบและลึก การออกแบบใหม่นี้มีการเพิ่มเติมส่วนของห้องใต้ดินเข้าไปอีก ตั้งแต่เริ่มแรกมีความต้องการผังแบบเปิดโล่ง และมีการเชื่อมต่อสเปซกันระหว่างชั้น เพื่อแสดงสินค้าอย่างชัดเจนและเป็นระบบระเบียบ มีการออกแบบโครงสร้างย้ายเสาโครงสร้างตรงกลางออกไปอยู่ริมอาคารทำให้ในร้านนี้ดูโล่งมาก ๆ

    ภายในร้านผนังทุกด้านทำเป็นชั้นหนังสือสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดานกันเลย ไม่เว้นแม้กระทั่งราวกันตกตรงบริเวณ atrium ก็ทำเป็นชั้นหนังสือระดับสูงประมาณเอว พวกเขากล่าวถึงปรัชญาการออกแบบสถาปัตยกรรมเชิงพาณิชกรรมว่า มันจะต้องเป็นส่วนที่เสริมตัวภาพลักษณ์ของสินค้าอย่างกลมกลืน ( เนียน ๆ ) นั่นเอง ในที่นี้ร้านหนังสือต้องให้ลูกค้าเข้ามาเลือกสรรค์ นั่งดูพลิกอ่านได้อย่างสบายกาย สบายใจ ให้มากที่สุด นอกจากสบายด้วยความโปร่งโล่งแล้ว พวกเขายังจัดม้านั่งจำนวนมากเอาไว้ให้นั่งอ่านก็เป็นเรื่องเป็นราวแบบไม่ต้องกลัวหนังสือยับกันเลยทีเดียว นอกจากนี้มีการเจาะ skylight นำแสงธรรมชาติเข้ามาบริเวณโถงบันได และ ออกแบบ lighting แบบ indirect เป็นหลัก